ภาษาพูด และภาษาเขียน
ภาษาพูด เป็นภาษาระดับไม่เป็นทางการ คือ
ภาษาที่เปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำพูด เพื่อสื่อความหมายให้รู้เรื่อง
ภาษาเขียน คือ
ภาษาที่ทางราชการกำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นแบบฉบับของการเขียนหนังสือไทยในราชการ
ระดับภาษา แบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ
๑. ภาษาแบบเป็นทางการ แบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ
๑.๑ ภาษาระดับพิธีการ
เป็นภาษาที่สมบูรณ์และมีรูปประโยคความซ้อนให้ความหมายค่อนข้างมาก
ถ้อยคำที่ใช้เป็นภาระดับสูง ผู้ใช้ภาษาระดับนี้จึงต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง
ภาษาระดับพิธีการนี้จะใช้ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น ในงานพระราชพิธี นอกจากนี้ยังใช้ในวรรณกรรมชั้นสูงอีกด้วย
๑.๒ ภาษาระดับมาตรฐานราชการ ภาษาระดับนี้จะไม่อลังการเท่าภาษาระดับพิธีการ
แต่เป็นภาษา ที่สมบูรณ์และถูกหลักไวยากรณ์
มีความชัดเจน สละสลวย ผู้ใช้ต้องละเอียด
ประณีตและระมัดระวัง
ภาษาระดับมาตรฐานราชการนี้จะใช้ในโอกาสสำคัญที่เป็นทางการ เช่น
การกล่าวคำปราศรัย การกล่าวเปิดการประชุม นอกจากนี้ยังใช้ในการเขียนงานวิชาการ
เรียงความ บทความวิชาการ และคำนำหนังสื่อต่าง ๆ เป็นต้น
๒. ภาษาแบบไม่เป็นทางการ
เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันโดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ
๒.๑ ภาษาระดับกึ่งทางการ ภาษาระดับนี้จะใช้รูปประโยคง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน
ใช้ถ้อยคำระดับสามัญ บางครั้งมีภาษาระดับสนทนาเข้ามาปนด้วย
ภาษาระดับนี้ใช้ในการติดต่อธุรกิจการงานหรือใช้กับบุคลที่ ไม่สนิท
และใช้ในการเขียนเรื่องที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านรู้สึกว่ากำลังฟังเราเล่าอยู่
เช่น การเขียนสารคดีท่องเที่ยว บทความแสดงความคิดเห็น การเล่าเรื่องต่าง ๆ เป็นต้น
๒.๒ ภาษาระดับสนทนา
ภาษาระดับนี้รูปแบบประโยคจะไม่ซับซ้อน ถ้อยคำอาจใช้คำสแลง คำตัด คำย่อปนอยู่
แต่จะไม่ใช้คำหยาบ
ภาษาระดับนี้ใช้ในการสนทนาในชีวิตประจำวันระหว่างคนที่คุ้นเคยกันและใช้ในการเจรจาซื้อขายทั่วไป หรือใช้ในการเขียนนวนิยาย บทความ สารคดี
และรายงานข่าว เป็นต้น
๒.๓ ภาษาระดับกันเองหรือภาษาปาก ภาษาระดับนี้ใช้สนทนากับผู้ที่สนิทสนมกันมาก ๆ
เช่น ในหมู่เพื่อนฝูงหรือในครอบครัวและมักใช้พูดในที่ที่เป็นส่วนตัว
ถ้อยคำจะมีคำตัด คำสแลง คำต่ำ คำหยาบ ปนอยู่มาก
ภาษาระดับนี้จึงไม่ใช้ในการเขียนทั่วไป นอกจากงานเขียนบางประเภท เช่น นวนิยาย
เรื่องสั้น บทละคร เป็นต้น
